วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ต้องฉีดที่ปากมดลูกไหม?

ปัจจุบันวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกหรือวัคซีน HPV ถือเป็นวัคซีนที่แพร่หลายและได้รับความนิยมมากเนื่องจากช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูกแถมยังช่วยป้องกันมะเร็งอื่นๆได้อีกด้วยครับ เช่น มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก มะเร็งหลังโพรงจมูกและหูดหงอนไก่ เป็นต้น

มะเร็งปากมดลูกถือเป็นมะเร็งที่พบบ่อยในสตรีเป็นอันดับต้นๆ และถือเป็นมะเร็งเพียงไม่กี่ชนิดที่เราสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนครับ จึงไม่แปลกที่สาวๆหลายคนสนใจอยากฉีด แต่สิ่งที่บางคนสงสัยและอาจจะทำให้กลัวจนไม่กล้าฉีดก็คือ ต้องฉีดที่ปากมดลูกไหม? เพราะมันชื่อวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกนี่นา แล้วถ้าฉีดตรงปากมดลูกคงจะต้องเจ็บหน้าดูเลยทีเดีย

คำตอบคือไม่ได้ฉีดที่ปากมดลูกครับ ตำแหน่งฉีดคือบริเวณต้นแขนด้านนอกซึ่งเป็นกล้ามเนื้อหัวไหล่นั่นเอง อ้าว แล้วแบบนี้มันจะได้ผลป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ยังไงล่ะ?

ก่อนอื่นต้องเข้าใจส่วนประกอบของวัคซีนก่อนครับว่ามันมีอะไรในนั้น ในวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจะมีโปรตีนที่มีลักษณะคล้ายกับเปลือกของไวรัส HPV ซึ่ง HPV นี่แหละที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปากมดลูกครับ พอเราฉีดวัคซีนเข้าไปที่ต้นแขน ร่างกายก็จะดูดซึมและเริ่มจดจำโปรตีนที่คล้ายกับ HPV ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อ HPV ขึ้นมาได้ครับ พอเกิดมีการติดเชื้อ HPV ขึ้นมาจริงๆ ภูมิคุ้มกันนั้นก็สามารถทำลายและกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้นั่นเอง

วัคซีน HPV มีข้อดีคือ ประสิทธิภาพสูง มีความปลอดภัย สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 12-45 ปี และที่สำคัญคือฉีดครบ 1 คอร์สแล้วภูมิคุ้มกันขึ้นตลอดชีวิต ไม่ต้องฉีดซ้ำแล้วครับ โดย 1 คอร์สจะฉีด 3 เข็ม คือ เดือนที่ 0,2 และ 6

ถึงแม้ว่าวัคซีนจะมีความปลอดภัยสูง แต่ก็แนะนำให้หลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนในบุคคลเหล่านี้ครับ

  1. ผู้ที่มีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้
  2. สตรีที่วางแผนจะตั้งครรภ์หรือกำลังตั้งครรภ์อยู่
  3. มีประวัติแพ้ยีสต์

ได้ฟังแบบนี้แล้วสาวๆหลายคนก็คงสบายใจขึ้นใช่ไหมครับ ไม่ต้องกังวลเรื่องกลัวเจ็บตอนฉีดวัคซีนแล้ว ใครสนใจฉีด หมอแนะนำให้รีบฉีดนะครับ ยิ่งฉีดเร็วก็ยิ่งป้องกันได้เร็วครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราให้ความสำคัญถึงความเป็นส่วนตัวของคุณ ข้อมูลของคุณจะถูกเก็บเพื่อใช้ในบริการทางการแพทย์ของคลินิกเท่านั้น โปรดกดปุ่ม accept เพื่อยอมรับเงื่อนไขตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ PDPA