เนื้องอกมดลูกคืออะไร? ต้องกังวลแค่ไหน?
เมื่อได้ยินคำว่า “เนื้องอกมดลูก” หลายคนอาจรู้สึกกังวลทันที คิดว่าอาจเป็น มะเร็ง หรือจำเป็นต้องผ่าตัดเสมอ แต่จริงๆ แล้วเนื้องอกมดลูกไม่ใช่มะเร็งและมีทางเลือกในการรักษาหลายแบบครับ
👉 โอกาสที่เนื้องอกมดลูกจะกลายเป็นมะเร็งต่ำมาก เรียกได้ว่าโอกาสถูกรางวัลใหญ่ยังมากกว่าการที่เนื้องอกจะกลายเป็นมะเร็งเสียอีก
โดยเฉลี่ยผู้หญิง 1 ใน 4 คนมีโอกาสเป็นเนื้องอกมดลูก แต่หลายคนอาจไม่รู้ตัว เพราะอาการขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของก้อนเนื้อ
1.อาการของเนื้องอกมดลูก
ผู้หญิงที่มีเนื้องอกมดลูกอาจมีอาการดังนี้
- ประจำเดือนมามาก หรือมานานผิดปกติ
- ปวดประจำเดือนรุนแรง
- คลำเจอก้อนที่ท้องน้อย
- มีลูกยาก หรือแท้งบ่อย
- ปัสสาวะบ่อย หรือท้องผูก (ถ้าก้อนเนื้อกดเบียดอวัยวะข้างเคียง)
หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจภายในร่วมกับอัลตราซาวด์เพื่อวินิจฉัยให้แน่ชัด
2.เนื้องอกมดลูกต้องผ่าตัดทุกกรณีหรือไม่?
ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเสมอไป! ขึ้นอยู่กับ อาการ ขนาดของก้อน และความต้องการของผู้ป่วย
3.ทางเลือกในการรักษาเนื้องอกมดลูก มีอะไรบ้าง?
1) สังเกตอาการ (ไม่ต้องผ่าตัด)
📌 เหมาะกับใคร?
✔️ ไม่มีอาการผิดปกติ (ประจำเดือนปกติ, ไม่ปวดท้อง, ไม่ปัสสาวะบ่อย)
✔️ ก้อนเนื้องอกมีขนาด ไม่เกิน 5-6 ซม.
✔️ ตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจร่างกายประจำปี
📌 ต้องทำอะไรบ้าง?
✅ พบแพทย์เพื่อติดตามอาการ ทุก 3-6 เดือน
✅ ตรวจภายในและอัลตราซาวด์เพื่อติดตามขนาดของก้อน
✅ หากก้อนโตขึ้น หรือเริ่มมีอาการผิดปกติ อาจต้องพิจารณาวิธีอื่น
📌 ข้อดี
✔️ ไม่ต้องเจ็บตัวจากการผ่าตัด
✔️ หากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ก้อนเนื้อมักจะเล็กลงเอง
📌 ข้อเสีย
❌ ต้องคอยติดตามตรวจเป็นระยะ
❌ หากก้อนโตขึ้น อาจต้องเปลี่ยนแนวทางการรักษา
2) การผ่าตัด (รักษาที่ต้นเหตุ)
📌 เหมาะกับใคร?
✔️ มีอาการรุนแรง เช่น ประจำเดือนมามาก ปวดท้องน้อยเรื้อรัง
✔️ ก้อนเนื้องอกมีขนาด ใหญ่ หรือโตเร็ว
✔️ มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น ปัสสาวะบ่อย หรือมีบุตรยาก
📌 ประเภทของการผ่าตัด
🔹 ตัดมดลูก (Hysterectomy) – แนะนำสำหรับผู้ที่มีลูกเพียงพอแล้ว
🔹 ตัดเฉพาะก้อนเนื้องอก (Myomectomy) – สำหรับผู้ที่ยังต้องการมีลูก
📌 ข้อดี
✔️ รักษาหายขาด ไม่ต้องกังวลเรื่องก้อนจะโตขึ้น
✔️ อาการผิดปกติหายไปทันที
📌 ข้อเสีย
❌ ต้องพักฟื้นหลังผ่าตัด
❌ หากตัดเฉพาะก้อน มีโอกาสเกิดซ้ำ
3) การใช้ยา (ทางเลือกสำหรับคนที่ไม่สามารถผ่าตัดได้)
📌 เหมาะกับใคร?
✔️ ผู้ที่ มีอาการ แต่ไม่สามารถผ่าตัดได้ เช่น โรคหัวใจรุนแรง
✔️ ผู้ที่ กลัวการผ่าตัด และอยากลองวิธีอื่นก่อน
📌 ประเภทของยา
💊 ยาคุมกำเนิด – ช่วยลดปริมาณประจำเดือน แต่ไม่ทำให้ก้อนเล็กลง
💉 ยาฉีดฮอร์โมน GnRH – ลดขนาดก้อน แต่มีข้อเสียคือ ราคาแพง และทำให้กระดูกบาง
📌 ข้อดี
✔️ ไม่ต้องเจ็บตัวจากการผ่าตัด
📌 ข้อเสีย
❌ ผลลัพธ์ไม่ถาวร ก้อนอาจโตขึ้นอีก
❌ ยาฉีดฮอร์โมน มีผลข้างเคียง เช่น อ้วนขึ้น หรือกระดูกบาง
- สรุป: เนื้องอกมดลูกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทุกคน
✅ หากไม่มีอาการสามารถติดตามอาการโดยไม่ต้องผ่าตัด
✅ หากมีอาการรุนแรง เช่น ประจำเดือนมามาก หรือปวดท้องมาก อาจต้อง พิจารณาผ่าตัด
✅ หากไม่สามารถผ่าตัดได้อาจใช้ยาเพื่อควบคุมอาการ
📌 ทางเลือกในการรักษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และความต้องการของผู้ป่วย
หากคุณสงสัยว่าตัวเองมีเนื้องอกมดลูกหรือไม่สามารถจองคิวเพื่อตรวจภายในที่ธนวรรธน์ คลินิกของเราได้เลยครับ ยิ่งตรวจเร็ว ยิ่งมั่นใจ และวางแผนการรักษาได้ทันที